CAC Council
กฎบัตร
1.2 กรรมการของคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งจากองค์กรร่วมดำเนินโครงการแนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต
ทั้งนี้ องค์กรร่วมหมายถึง สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หอการค้าไทย หอการค้าต่างชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรที่ได้รับอนุมัติให้เป็นองค์กรร่วม
1.3 คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต เป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและเลขานุการ
1.4 คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต และองค์กรร่วมแต่งตั้งผู้แทนจากองค์กรร่วมองค์กรใดองค์กรหนึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
การปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการจะมีวาระคราวละ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
1.5 สิทธิและหน้าที่องค์กรร่วม มีดังนี้
ทั้งนี้ มติต่างๆ ขององค์กรร่วมให้นับจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนองค์กรร่วมทั้งหมด
กรรมการของคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
2.1 เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม และเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจและสังคม
2.2 เป็นผู้ที่มีบทบาทและผลงานในการต่อต้านการทุจริตหรือการสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการที่ดี
2.3 เป็นผู้ที่มีความเต็มใจและสามารถอุทิศเวลา พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต
กรรมการของคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และกรรมการที่พ้นตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้อีก
4.ค่าตอบแทนกรรมการ
กรรมการของคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ไม่ได้รับค่าตอบแทนทางการเงิน เว้นแต่สิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตจัดขึ้น
5.การประชุม
5.1 คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต จะต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
5.2 คณะกรรมการแนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต จะต้องจัดให้มีการประชุมร่วมกับสมาชิกองค์กรร่วม โดยแต่ละองค์กรร่วมจะต้องส่งผู้แทนเข้าประชุมสามัญปีละ 1 ครั้ง เพื่อ
5.2.1 ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี
5.2.2 รับรองรายงานประจำปี ที่แสดงผลงานของโครงการฯ
5.2.3 อนุมัติงบประมาณประจำปีของโครงการฯ
6.บทบาทหน้าที่
คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต มีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
6.1 พิจารณาและพัฒนาจรรยาบรรณและข้อพึงปฏิบัติที่ดีของกลุ่มแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) เพื่อการต่อต้านการทุจริต
6.2 พิจารณาและพัฒนากระบวนการในการให้การรับรองแก่บริษัทที่จะเข้าร่วมกลุ่มแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) เพื่อการต่อต้านการทุจริต
6.3 พิจารณาแต่งตั้งและเพิกถอนบริษัทในกลุ่มแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) เพื่อการต่อต้านการทุจริต
6.4 เป็นตัวแทนของบริษัทในกลุ่มแนวร่วมปฏิบัติเพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องการต่อต้านการทุจริตให้กับภาครัฐและสื่อมวลชน
6.5 ปรึกษาหารือร่วมกับองค์กรร่วมและสมาชิกในแนวร่วมปฏิบัติฯ เพื่อกำหนดทิศทาง กลยุทธ์และแผนงานในการดำเนินโครงการ
6.6 พิจารณา สนับสนุน และร่วมการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมป้องกันและต่อต้านการทุจริตตามยุทธศาสตร์และแผนงานที่กำหนดไว้ อันได้แก่ การสัมมนา การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การจัดหลักสูตรการอบรม การสำรวจความคิดเห็น การเผยแพร่ข้อพึงปฏิบัติที่ดี การประชาสัมพันธ์ และการเข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านการทุจริตของภาครัฐและ NGO เป็นต้น